สวนกล้วยไม้อุดรซันไชน์

สวนกล้วยไม้อุดรซันไชน์
ผสมเกสร : ปี 2520
ออกดอกครั้งแรก : ปี 2530
ระบบกลิ่นหอม : เริ่ม 06.00น.-13.00น.  ในฤดูร้อนและฤดูฝน เริ่ม 09.30น.-15.30น.  ในฤดูหนาว
สีของดอกและฟอร์มดอก : จะมีสีแดงจัดในฤดูหนาว สีทองเคในฤดูร้อนและฤดูฝน

กล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง ของจังหวัดอุดรธานี
ที่อยู่ใกล้ตัวเมืองที่สุดจึงถือเป็นเสน่ห์ ในการดึงดูดนักท่อง เที่ยวชาวไทยและ
ต่างประเทศให้เดินทางไปสัมผัสกับความแปลกและความสวยงามซึ่งมีอยู่
เพียงแห่งเดียวในโลกนี้ก็ว่าได้ กล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์เป็นกล้วยไม้พันธุ์
แวนด้าใบร่อง ลูกผสมระหว่างสามปอยดง และโจเซฟฟิน แวนเบอโร่ผสม
ได้ด้วยฝีมือของมนุษย์เมื่อปี 2520

โดยเกษตรกรสมัครเล่นชื่อนายประดิษฐ์ คำเพิ่มพูล อายุ 57 ปี อยู่บ้านเลขที่
127 ซอยกลมพัฒนา ต.บ้านเลื่อม อ.เมือง จ.อุดรธานี กล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์
เริ่มให้ดอกราวปี พ.ศ.2530 เมื่อดอกออก มาจะให้กลิ่นหอมรัญจวนแบบไทย ๆ
นับว่าเป็นความแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน ในโลกนี้ ดอกของกล้วยไม้ชนิดนี้จะ
ให้กลิ่นหอมตั้งแต่เช้าตรู่ไปจนกระทั่งถึงบ่ายโมงต่อมากลิ่นจะเปิด-ปิดในช่วง เวลา
ดังกล่าวจนกว่าดอกจะเหี่ยวแห้งไป นอกจากดอกจะให้ความหอม เป็นกรณีพิเศษ
แล้วยังสามารถเปลี่ยนสีได้ถึง3 สีคือ เมื่ออากาศเย็นจัดระหว่าง 10-15 องศา
เซลเซียส ดอกจะเป็นสีแดงสดใสเมื่ออุณหภูมิ 15 -20 องศาเซลเซียสดอกจะเป็น
สีทองถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นมาก กว่านี้ดอกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสดแต่กลิ่นยังคงที่
เหมือนเดิมสำหรับดอกยังมีคุณลักษณะพิเศษอีก โดยจะมีความทนนานคาต้นโดย
ที่ไม่ ต้องตัดจะอยู่ได้ราว 60 วัน ถ้าตัดออกจากต้นจะอยู่ได้15 วัน แต่ถ้าอากาศ
เย็นจัดจะสามารถอยู่ได้ถึง 25วันส่วนกลิ่นถ้าตัดแล้วจะให้ความหอมประมาณ
10 วัน หลังจากนั้นกลิ่นจะค่อยจางหายไปเรื่อย ๆจนกว่าดอกจะแห้งในที่สุด

ปัจจุบันกล้วยไม้หอมอุดรซันไฌน์ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์แล้วที่สมาคมกล้วยไม้โลก
ประเทศอังกฤษ

        จากตัวเมืองไปราว 2 กม. ตามถนนเลี่ยงเมืองใกล้แยกไปจังหวัดหนองคาย
เลี้ยวเข้าทางแยกไปหนองสำโรงใกล้กับสนามกอลฟ์มีป้ายบอกบริเวณสวนกล้วยไม้
หอมอุดรซันไฌน์ ตั้งแต่เช้ามืดไปจนราวบ่ายโมงกลิ่นของกล้วยไม้จะหอมตลบอบ
อวล จนสามารถนำไปสกัดเป็นน้ำหอมได้ มีกล้วยไม้ และน้ำหอม จำหน่าย ที่สวน
และตามร้านสินค้าพื้นเมืองอุดรธานีคุณประดิษฐ์ คำเพิ่มพูล เจ้าของ และผู้คิดค้น
มีโครงการค้นคว้าทางด้าน ธรรมชาติ และการเกษตรที่น่าสนใจอีกหลายโครงการ

ใส่ความเห็น